วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

25 มีนาคม 2559
             
  Review สิ่งเดิม เพิ่มเติมสิ่งใหม่ 
   วันนี้ทุกคนเห็น และโฟกัส สิ่งสำคัญได้มากขึ้น เนื่องจากเกิดการเรียนรู้และตั้งคำถาม เพื่อลำดับความสำคัญของ Outcome ที่อยากจะได้  แต่ก็ยังไม่ใช่ที่สุดเพราะยังมีปัจจัยแวดล้อมอีกหลายอย่างที่เราไม่กล้าตัด  ส่งผลให้เรายังไม่ได้ Event ที่สำคัญที่สุด
      
 

 


คำถามต่อมา  อะไรสำคัญที่สุด? จากสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้

........ฝากคิดต่อ โมเดลควรจะเป็นอย่างไร?


24 มีนาคม 2559
 ก้าวของ ความกล้า ที่จะตั้งคำถาม  ???
   คำถาม มากมายที่คุณครูได้ช่วยกันนำมาร่วมรวมนั้น เกิดจากความกังขากับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบด้าน เริ่มต้นจาก นักเรียน  ครู  ผู้ปกครอง  หลักสูตร  สื่อและสถานที่รวมถึงประเด็นต่างๆที่แต่ละคนมองเห็นในมิติต่างๆ
เด็ก
· ทำไมเด็กไม่พบความถนัดของตนเอง ไม่มีทักษะพื้นฐานติดตัว
· ทำไมต้องแบ่งแยกห้องเด็กเก่ง/อ่อน
·ทำไมเรียนวิชาการจึงเป็นคนเก่ง
· เรียน Home school แล้วจะไม่มีสังคมจริงหรือ
· ทำไมต้องมีประธานนักเรียน
· การสอบวัดความรู้ของเด็กแต่ละคนได้จริงหรือ
· ความรู้ในหนังสือเดิม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงหรือไม่ อย่างไร
· เด็กสูญเสียโอกาสอะไรไหมกับความเชื่อที่ว่าต้องทำตามครูแนะนำ
· วิถีปฏิบัติในปัจจุบัน สร้างการพัฒนาภายในได้จริงหรือ
· จริงหรือที่นักเรียนในระดับที่สูง จะมีความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ สูงไปด้วย
· กิจกรรมอาสาสร้างสุข ช่วยทำให้นักเรียนเกิด “จิตอาสา” จริงหรือ
· อะไรเป็นตัววัดว่า การดูคลิป VDO /หนัง/ในคาบ “คนบันดาล”
· เพียงพอแล้วหรือในการที่นักเรียนได้ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ 1 ชิ้น : 1 Quarter เพื่อการพัฒนาทักษะนั้นๆ
· นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับที่สูงของโรงเรียนมีความเข้าใจต่อวิถีโรงเรียนจริงหรือ
· ทำไมเด็กนั่งเรียนเฉพาะในห้องเรียน
· จริงหรือการนั่งในห้องเรียนทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
· เด็กได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันจริงหรือ

ครู
- ครูที่จบมาไม่ตรงวิชาที่สอน จะถ่ายทอดทำให้เด็กเข้าใจได้จริงหรือ
- ครูผู้สอนเข้าถึงแก่นแท้ของกิจกรรมการเรียนรู้นั้นจริงหรือ
- การที่ครูรู้จักนักเรียนในทุกมิติ ทำให้สามรถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ได้จริงหรือ
- ทำไมครูไม่ให้เด็กถ่ายทอดความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ เอง
- เราจะวัดระดับความเข้าใจของครูได้อย่างไร
- ทำไมคนเรียนจบครูมาก แต่มาทำงานเป็นครูน้อย
- ทำไมครูจึงเป็นศูนย์กลางของหลายๆ เรื่อง
- ครูจัดลำดับอ่อนเก่ง หรือเปรียบเทียบ กระตุ้นให้เด็กกระตือรือร้นจริงหรือ
- ครูสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ถึงเป้าหมายโดยแท้จริงหรือ
- อุปกรณ์ไอที เป็นเครื่องมือที่ทำให้ครูพัฒนาตนเองได้จริงแค่ไหน

ผู้ปกครอง
· จริงหรือที่การส่งให้ลูกเรียนสูงๆ จะมีอนาคตที่ดี
· เด็กมัธยมที่จบจาก LPMP แตกต่างจากโรงเรียนอื่นจริงหรือ
· ผู้ปกครองที่ทำงานร่วมกับ โรงเรียน/ครู LPMP มาเป็นเวลานาน เข้าใจแนวทางโรงเรียนเราจริงหรือ
· เราเข้าถึงเป้าหมายกิจกรรม “ผู้ปกครองอาสา” จริงหรือ
· ผู้ปกครองที่มาสร้างการเรียนรู้ เข้าใจเรื่องที่ถ่ายทอดจริงหรือ
· ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้มากแค่ไหน
· ผู้ปกครองเข้าใจแนวทางของโรงเรียนจริงหรือ
· ผู้ปกครองเอาใจใส่ต่อบุตรหลานจริงหรือ

ข้อปฏิบัติ /ระเบียบ
- การแต่งกายมีผลต่อการเรียนรู้แค่ไหน /ไม่มีเครื่องแบบได้ไหม
- มีข้อปฏิบัติแล้วทำให้มีวินัยจริงหรือ
- การลงโทษทำให้มีวินัยจริงหรือ
- การเสริมแรง Empower ทำให้มีวินัยมากน้อยแค่ไหน
- มาตรการของโรงเรียนที่มีสัมฤทธิ์ผลจริงหรือ
- ถ้ากฎระเบียบเป็นสิ่งที่ดี ที่ควรปฏิบัติตาม ทำไมเราไม่ทำให้ได้
- กฎระเบียบทำให้คนเป็นคนดีจริงหรือ

สถานที่
- บรรยากาศในชั้นเรียนสำคัญต่อการเรียนรู้จริงหรือ
- ชื่อของสถาบันส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนจริงหรือ
- การเรียนรู้ที่ดีคือต้องมีสถานที่เพียงพอ (มากพอ) จริงหรือ
- ไม่มีห้องเรียน /สถาบัน จัดการเรียนรู้ได้หรือไม่

สื่อ /อุปกรณ์
- อุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย ที่ทางโรงเรียน support มากพอ ทำให้ครูทำงานได้เต็มศักยภาพได้จริงหรือ

หลักสูตร/ระบบการเรียนการสอน
· ทำไมต้องมีหลักสูตรฯ / ไม่มีหลักสูตรได้ไหม
· ทำไมสอนแยกเป็นรายวิชา หลากหลายวิชา
· การจัดการระดับชั้นเรียน ไม่จัดเป็นช่วงอายุ(อายุเท่านี้)ได้หรือไม่
· จัดการเรียนรู้ที่ไม่ต้องมาเรียนที่โรงเรียนได้ไหม
· กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ช่วยพัฒนาได้จริงแค่ไหน
· การประเมิน...ประเมินได้จริงแค่ไหน
· ทำไมอาชีวศึกษาจึงได้รับความนิยมต่ำ
· ทำไมคนคิดหลักสูตรจึงไม่ใช่ผู้สอน กลับเป็นนักวิชาการ
· ทำไมผู้สำเร็จการศึกษาจึงมีคุณภาพต่ำ
· การบ้านเป็นการสร้างวินัยและความรับผิดชอบจริงหรือ
· วิชาการทำไมไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง
· เนื้อหาอะไรในหลักสูตรที่เป็นขยะ
· หลักสูตรหรือตารางเรียนมัธยม LPMP ในปัจจุบันช่วยหล่อหลอมให้เกิดทักษะชีวิตจริงหรือ
· สมศ. ประเมินคุณภาพการศึกษาได้จริงหรือ
· ทำไม เราใช้เรื่องเดิมๆในระดับชั้นที่สูงขึ้น ช่วยให้เด็กนักเรียนเข้าใจมากขึ้นหรือ
· การเรียนรู้ในปัจจุบันผู้เรียนมีส่วนร่วมออกแบบจริงหรือ
· ข้อสอบส่วนกลางสามารถวัดความรู้ของเด็กทั้งประเทศได้จริงหรือ
· การเรียนรู้แบบ LPMP 1 ช่วยลดความอหังการในตัวตนได้จริงหรือ
· การแข่งขันวิชาการทำให้เด็กพัฒนาจริงหรือ
· ไม่เรียนภาษาไทย แต่มีการสร้าง (นำภาษามาใช้ เช่น เขียนความ/บทกวี,เรื่องสั้น,สื่อออนไลน์ ฯลฯ)

               จากการพูดคุยวันนี้ เราทุกคนมองเห็น ช่องว่างที่เกิดขึ้นของรูปแบบการจัดการแบบเดิม รวมถึงแก่นแท้ของแต่ละสิ่งที่เรายังเข้าไม่ถึง  ทั้งกิจกรรมการเรียนรู้และเป้าหมายสูงสุดที่อยากที่จะเกิดขึ้นกับมัธยม
         จึงเป็นโจทย์ให้คิดต่อไปอีกว่า  
                               ของเดิมที่เราทำได้ดีแล้วนั้นมีอะไร?
                 ..สิ่งใหม่ที่เราอยากจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมนั้นคืออะไร และจะทำอย่างไร?





23 มีนาคม 2559
         ต่อจากก้าวแรก...
   จากความเห็นมากมาย "ที่แต่ละคนอยากจะเห็น"  พวกเรายัง ติดแหง็ก กับกรอบความคิดเดิมที่ว่า มัธยมรูปแบบเดิมที่ทำมาในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมานั้นดีอยู่แล้ว
      วันนี้เราจึงมีโอกาสได้รู้จัก กับรูปแบบการคิดที่เป็นระบบ โดยคุณครูใหญ่ตั้งคำถามว่า อะไรเป็นเป้าหมายสูงสุดของการทำมัธยม ?
    ถ้าพวกเรามองว่า เด็ก  ครู ผู้ปกครองและสถานที่ เป็นเป้าหลัก   แล้วเราจะสร้าง  ความเชื่อ/โลกทัศน์    โครงสร้างระบบ  แบบแผนพฤติกรรม เพื่อให้เกิด Event  ต่อสิ่งเหล่าานี้ที่เราตั้งเป้าหมายได้อย่างไร ?
             
         

 ยกตัวอย่าง "ชาเขียว" 
    เพียงความเชื่อที่ว่า   ดื่มชาเขียวแล้วสามารถต่อต้านอนูมูลอิสระได้   และน้ำตาลไม่เป็นอันตรา  Event   ที่เกิดขึ้นก็อเนกอนันต์
           
      Events ที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนแปลงได้ เพียงการปรับ โลกทัศน์และความเชื่อเดิม

   แล้วเราจะปรับอย่างไรล่ะ ?   
           แค่.....กล้าตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านั้น...

...............แต่ละคนให้เวลากับการตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆของมัธยมที่ตนเองมองเห็นในแต่ละมิติ แล้วนำมาสร้างการเรียนรู้กันต่อในวันต่อไป???????
22 มีนาคม 2559

 จุดไฟให้ตะเกียง
......เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง......มัธยม เฟส 2
       วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่คุณครูมัธยม ทีมใหม่ และคุณครูใหญ่ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นในประเด็นสำคัญต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ที่เป็นเป้าหมายใหญ่ของมัธยม ว่า
                    
                      เราอยากเห็นมัธยมเป็นอย่างไร ?
                      เราอยากจะทำอะไร ?
                   และ......เราจะทำอย่างไร?

ครูเหมียว :  อยากเห็นความสะอาด  ความเป็นระเบียบ
ครูใหญ่    : จะทำอะไร ? และจะทำอย่างไร ?
ครูผัดกาด : อยากเห็นเด็กดำเนินวิถีจริงที่เป็นธรรมชาติ (ไม่ทำแบบประดิษฐ์)  และรู้หน้าที่ของตนเอง
ครูเส็ง     : อยากเห็นการพัฒนา   ทักษะชีวิต    ทักษะอาชีพ 
ครูใหญ่   : ทักษะชีวิตคืออะไร ?    ทักษะอาชีพคืออะไร ?      เราอยากให็เด็กได้แค่ไหน ? 
ครูผึ้ง      : อยากเห็นเด็กอยู่ได้ด้วยตนเอง และชี้นำตนเองได้
ครูใหญ่   : การที่เด็กอยู่ได้ด้วยตนเองนั้น เป็นสิ่งที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ในระยะสั้น  และเมื่อวิถีชีวิตดำเนินรูปแบบนี้นานเข้า  จะเป็นจุดเริ่มต้นเองของการมองเห็นเพียงตัวเอง

.........คิดต่อเพื่อหาค้นหาสิ่งสำคัญ.......

                     
 

               
                             


วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

ก้าวที่ 2 ของมัธยม

คิดใหม่ วางแผนใหม่ มุมมองใหม่ เพื่ออีกมิติของการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น "เราจะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเพื่ออะไร"

มัธยมนอกกะลา

บรรยากาศ "มัธยมศึกษา ม.1 - ม.3 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา"